วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

หลักสูตรแนะแนว



จุดหมายของหลักสูตรแนะแนว

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนธารทองพิทยาคม มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความรู้ สามารถอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุข บนพื้นฐานของความเป็นไทย มีความรู้ ความสามารถในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพได้ จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่อไปนี้
1. ผู้เรียนทุกคนเห็นคุณค่าของตนเอง (Self Esteem) มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์
สจริต มีวินัยในตนเองและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนา
ที่ตนนับถือ
2. ผู้เรียนทุกคนเป็นบุคคลใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเรียน รักการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
3. ผู้เรียนทุกคนมีทักษาความรู้อันเป็นสากล ทักการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิทยาการ มีทักษะ และมีความสามารถในการจัดการ การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีการทำงานได้อย่างเหมาะสม
4. ผู้เรียนทุกคนมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ทักษะการคิด การสร้างปัญหาและมีทักษะในการดำเนินชีวิต
5. ผู้เรียนทุกคนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีสุนทรียภาพด้านดนตรี ศิลปะ กีฬา และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
6. ผู้เรียนทุกคนสามารถสร้างอาชีพที่สุจริตได้ตามความถนัดและความสนใจเลือกบริโภคและมีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค
7. ผู้เรียนทุกคนมีความเข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย เกิดความรักชาติ รักท้องถิ่น เป็นพลเมืองดีของสังคม มุ่งทำประโยชน์ สร้างสรรค์ สิ่งที่ดีงานให้แก่สังคม ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
8. ผู้เรียนทุกคนมีจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภาษาไทยและภูมิปัญญาไทย
9. ผู้เรียนทุกคนรู้คุณค่าของการประหยัดและอดออม มีจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ




โครงสร้างของหลักสูตร

เพื่อให้การศึกษาเป็นไปตามหลักการ จุดมุ่งหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนธารทองพิทยาคมได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรของสถานศึกษาดังนี้
1. ระดับช่วงชั้น
โรงเรียนได้กำหนดหลักสูตรออกเป็น 2 ช่วงชั้น ตามระดับพัฒนาการของผู้เรียนต่อจากระดับประถมศึกษา
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
2. สาระการเรียนรู้
โรงเรียนได้จัดกำหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกบวนการเรียนรู้และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียน แบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระดังนี้
1. ภาษาไทย
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์
4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5. สุขศึกษาและพลศึกษา
6. ศิลปะ
7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8. ภาษาต่างประเทศ
9. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
สาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม เป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้ มี 2 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่แรก ประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นสาระการเรียนรู้ที่โรงเรียนต้องใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการคิด และเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและวิกฤตของชาติ
กลุ่มที่สอง ประกอบด้วย สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ เป็นสาระการเรียนรู้ที่เสริมพื้นฐานความเป็นมนุษย์และสร้างศักยภาพในการคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน


กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วยกิจกรรม 2 ลักษณะคือ
กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองอย่างครบวงจรตั้งแต่ศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ประเมิน ปฏิบัติตานแผน ปรับปรุงการทำงาน โดยการ
ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น โครงงาน กิจกรรมตามความสนใจ ชุมนุมวิชาการ กิจกรรมรักการอ่าน กิจกรรมสาธารณประโยชน์ ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์
กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้เชิงพหุปัญญา และการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ซึ่งครูทุกครูต้องทำหน้าที่ ครูแนะแนว ให้คำปรึกษาด้านชีวิต การศึกษา และการพัฒนาตนเองสู่โลกอาชีพการมีงานทำ






















แนวทางการบริหารจัดการแนะแนว

การบริหาจัดการแนะแนว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน ทุกฝ่ายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งเนื่องจากทุกปัญหาของผู้เรียนล้วนมีสาเหตุและไม่ได้เกิดทันทีทันใด แต่เป็นการสั่งสมประสบการณ์ ทั้งในด้านความคิดความรู้สึก และการกระทำ และหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีปัญหาอาจลุกลามจนยากต่อการแก้ไขในที่สุด ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือและพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร การบริหาจัดการแนะแนวจึงควรบริหาอย่างเป็นระบบ โดยมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1. การเตรียมการและวางแผนการดำเนินงาน มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแนะแนวการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสภาพความต้องการของผู้เรียน สภาพปัญหา นโยบายการจัดการศึกษาแผนพัฒนาการแนะแนว ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549) และสภาพความพร้อมของสถานศึกษา รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการ
2. การปฏิบัติตามแผน เป็นการสร้างความตระหนัก ความเข้าใจกันบุคลากรทุกคน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แล้วดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
3. การกำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงาน มีการติดต่อและประเมินผล เพื่อตรวจสอบและทบทวนการดำเนินการที่ผ่านมา
4. การปรับปรุงและพัฒนา เป็นการนำผลประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการแนะแนวในทุกขั้นตอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีการจัดทำรายงานการดำเนินงานเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาต่อไป












คำอธิบายรายวิชากิจกรรมแนะแนว

เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา สำรวจ และค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาชีพและการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สามารถเลือกตัดและตัดสินใจแนวทางการศึกษาต่อ และอาชีพของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับบุคลิกภาพ ความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตนเอง
ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐและของเอกชน วิเคราะห์บุคลิกภาพ ความถนัด ความสนใจ และความสามารถของตนเอง ตัดสินใจเลือกสาขาวิชาและสถาบันการศึกษาเพื่อการศึกษาต่อของตนเองได้อย่างเหมาะสมตรงตามเป้าหมายในอนาคตของตนเอง วางแผนและจัดแบ่งเวลาของตนเองได้อย่างเหมาะสม มีความเข้าใจและยอมรับตนเอง สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบและกระบวนการ



















ศาสตร์และศิลป์ของการแนะแนว

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนในลักษณะองค์รวม คือ ให้ผู้เรียนมีความสมดุลทางด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม ตลอดจนการพัฒนาผู้เรียนได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพนั้น การแนะแนวนับว่ามีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการแนะแนวเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง สามารถเลือกและตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมมีทักษะในการจัดการชีวิต ตลอดจนสามารถปรับตัวและดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นการบริหารหลักสูตรให้บรรลุเป้าหมายจึงจำเป็นต้องใช้กระบวนการทางจิตวิทยาและการแนะแนวเพื่อให้
1. ผู้เรียนรู้จักตนเอง รู้ความถนัด ความสนใจ ตลอดจนความต้องการ เพื่อนำไปสู่การเลือกวิชาเรียน และเลือกอาชีพ
2. ผู้เรียนเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเอง เข้าใจและยอมรับผู้อื่น สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้
3. ครูมีข้อมูลที่จะนำมาใช้จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม สนองความต้องการ ความถนัด ความสนใจ และวิธีการหรือลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
4. บรรยากาศการเรียนการสอนเป็นไปอย่างอบอุ่น ผู้เรียนมีความสุขที่จะเรียนรู้ ครูมีความสุขที่จะอยู่กับผู้เรียน
การดำเนินงานการแนะแนวให้ประสบความสำเร็จ มีใช่รู้จักเพียงว่า “การแนะแนวคืออะไร หลักการสำคัญของการแนะแนวมีอะไรบ้าง และเทคนิคในการแนะแนวเป็นอย่างไร” แต่งานแนะแนวจะประสบความสำเร็จจะต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ นั้นคือการใช้องค์ความรู้ทางจิตวิทยาเพื่อให้เข้าใจถึงมนุษย์ที่มีความแตกต่างกันทั้งวัย อายุ ความถนัด และความสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุของพฤติกรรมของแต่ละคนและใช้ศิลป์ของการแนะแนวได้แก่ เทคนิค และทักษะต่างๆ ที่จะทำให้ความเข้าใจและหาทางช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมเป็นกรณีไป ซึ่งศาสตร์และศิลป์ต้องใช้ควบคู่กันไปเสมอ ศาสตร์และศิลป์ของการแนะแนวซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการบริหารจัดการแนะแนวและจัดการเรียนรู้ คือ การรู้จักและเข้าใจผู้เรียน







การวิเคราะห์ผู้เรียน

การรู้จักเข้าใจผู้เรียนได้ดีนั้น จำเป็นต้องมีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของผู้เรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม โดยใช้เครื่องมือ เทคนิค วิธีการที่หลากหลายและข้อมูลที่ได้ควรจะได้มาจากหลายฝ่ายและหลายสถานการณ์ ควรศึกษาหลายวิธี จนกว่าจะแน่ใจว่าถูกต้องเพียงพอและเชื่อถือได้
การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายกลุ่มและรายบุคคล จึงมีหลักการและเทคนิควิธีดังนี้
ข้อมูลมีความสมบูรณ์และเชื่อถือได้
การที่จะรู้จักผู้เรียนแต่ละคนนั้น จำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ใช้เครื่องมือและเทคนิคการรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงและเชื่อถือได้ ดังนี้
1. ข้อมูลที่เกี่ยวกับทางบ้านและพื้นเพเดิมของผู้เรียน
2. ข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
3. ข้อมูลที่เกี่ยวกับการศึกษา ความสามารถหรือความถนัด
4. ข้อมูลที่เกี่ยวกับสังคม และอารมณ์ของผู้เรียน
5. ข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำงานและประสบการณ์ต่างๆ
6. ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการชีวิตและอนาคต
การรวบรวมข้อมูลของผู้เรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ถูกต้องและนำไปสู่การช่วยเหลือพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ
1. เครื่องในการรวบรวมข้อมูล
2. ทักษะในการรวบรวมข้อมูล
3. บุคลิกภาพของครู
เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล เช่น อัตถชีวประวัติ การสัมภาษณ์ การสังเกต ทำระเบียนสะสม การเยี่ยมบ้าน ระเบียนพฤติการณ์ การทดสอบ สังคมมิติ การศึกษารายกรณี(โรงเรียนธารทองพิทยาคมใช้แบบทดสอบต่างๆ ของศูนย์แนะแนวการศึกษาและอาชีพและแบบทดสอบ SDQ ของกรมสุขภาพจิต)
ทักษะในการรวบรวมข้อมูล การรวบรวมข้อมูลแก่ผู้เรียน ครูควรใช้เทคนิคและวิธีการหลายๆ ชนิด เพื่อความถูกต้องและแม่นยำ ครูต้องให้นักเรียนเปิดเผยข้อมูลจริงด้วยความมั่นใจโดยมีทักษะที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการฟัง ทักษะการพูด



บุคลิกภาพของครู เพื่อทำให้ผู้เรียนยอมรับดังนี้

- การมีใจกว้างและยืดหยุ่น ยอมรับความคิดเห็นของผู้เรียนและยอมรับประสบการณ์ของผู้เรียนได้โดยไม่ตัดสินความผิดถูก
- มองโลกในแง่ดี เห็นคุณค่าและจุดดีในตัวของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นคุณค่าและส่วนดีของตนเอง มีกำลังที่จะพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มความสามารถต่อไป
- มีท่าทีอบอุ่นและเอาใจใส่ การแสดงความอบอุ่นและเอาใจใส่ สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งด้วยการแสดงสีหน้า ท่าทาง คำพูดหรือการสัมผัส เป็นการแสดงความสนใจและให้ความสำคัญของผู้เรียนทุกคน
- การมีวุฒิภาวะและความกลมกลืน ครูที่มีวุฒิภาวะและความกลมกลืนจะสามารถทำงานและแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับความพอใจของผู้เรียน มีความมั่นคงทางอารมณ์และยอมรับจุดอ่อนของตนเอง ไม่ใช้อำนาจของตนเองในการชี้นำผู้เรียน



















หลักของการแนะแนวมิติใหม่

หลักการที่ 1
ผู้บริหารและครูทุกคนมีบทบาทในการแนะแนว

หลักการที่ 2
การแนะแนวเน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด

หลักการที่ 3
การแนะแนวที่เน้นความเท่าเทียมกันของโอกาสของการศึกษา

หลักการที่ 4
การพัฒนาระบบการแนะแนวของสถานศึกษา

หลักการที่ 5
พันธกิจระหว่างบ้าน บุคคล และสถานศึกษา

หลักการที่ 6
สร้างเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศ

หลักการที่ 7
การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายของการแนะแนว









ข้อตกลงร่วมกันของทุกคน

ขณะที่ร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ทุกคนจะปฏิบัติดังนี้
1. มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
2. พูดได้ครั้งละ 1 คน
3. ขณะที่เพื่อนแสดงความคิดเห็น ถ้านักเรียนจะแสดงความคิดเห็นในทางตรงกันข้ามต้องให้เพื่อนแสดงความคิดเห็นเสร็จก่อน
4. ไม่ใช้คำพูดดูถูกซึ่งกันและกัน และรู้จักแสดงความรู้สึกชื่นชมกันและกัน
5. ไม่ใช้คำพูดดูถูกตนเอง และรู้จักแสดงความรู้สึกชื่นชมตนเอง
6. ไม่พูดสอดแทรกขณะที่เพื่อนพูดหรือแสดงความคิดเห็นยังไม่เสร็จ
7. ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำตอบของเพื่อน
8. แสดงออกด้วยความจริงใจ



















คุณลักษณะที่พึงประสงค์

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกิจกรรมแนะแนว
1. รักและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
2. รู้จักแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ
3. สามารถพัฒนาบุคลิกภาพและปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
4. มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
5. มีค่านิยมที่ดี มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม
6. มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศไทย






















มาตรฐานการแนะแนวด้านผู้เรียน

มาตรฐานช่วงชั้นด้านการแนะแนว (ช่วงชั้น ม.1- ม.3)
มาตรฐานที่ 1 รู้จักเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
1. รู้สถานภาพและเข้าใจบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของตนเองต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนเองอย่างเหมาะสม
- ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับผิดชอบ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและผู้อื่น
2. เข้าใจความต้องการปัญหาที่เกิดขึ้นของตนเองและมีวิธีให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ และแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล
- บอกสาเหตุของความต้องการ ปัญหาและวิธีการให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการและแก้ปัญหาของตนเอง
- ตอบสนองความต้องการแก้ปัญหาของตนเองอย่างเป็นขั้นตอน
3. ค้นหาเอกลักษณ์ของตนเองโดยแบบที่ดีและถูกต้อง
- เปรียบเทียบแบบอย่างที่ดีและไม่ดี
- บอกแบบอย่างที่ตนเองชื่นชมและยึดถือ
- วิเคราะห์แบบอย่างที่ดีมีความเหมาะสมกับตนเอง
4. รู้และเข้าใจความสนใจ ความถนัด ความสามารถด้านการเรียน อาชีพ และบุคลิกภาพของตนเองได้อย่างเห็นได้อย่างชัดเจน
- ตรวจสอบความสนใจ ความถนัด ความสามารถ และบุคลิกภาพของตนเอง
- พัฒนาตนเองในสิ่งที่สนใจ ถนัด และสามารถจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง
- ตระหนักรู้จักลักษณะเฉพาะของตนที่สัมพันธ์กับการศึกษางานและอาชีพ
5. เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
- บอกเจตคติที่ดีของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับคำยกย่อง ชมเชย และซาบซึ้งในความดีงามของตนเองและผู้อื่น
มาตรฐานที่ 2 รู้จักแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ
รู้จักแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเฉพาะด้านอย่างหลากหลาย สามารถรวบรวม วิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม
- รู้จักแสวงหาข้อมูลจากบุคคล สถานที่ สื่อและเทศโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นและมีวิธีการหาข้อมูลเฉพาะด้าน
- สามารถวิเคราะห์ข้อมูลซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง
- สามารถเลือกใช้ข้อมูลเป็นแนวทางประกอบการวางแผนการเรียน อาชีพและการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
- สามารถนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
มาตรฐานที่ 3 ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
สามารถกำหนดเป้าหมาย วางแผนการใช้เวลา คาดการณ์ รู้ผลกระทบ ประเมิน ผลในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล คุณธรรม และจริยธรรม
- สามารถวางแผนการเรียน อาชีพและชีวิตให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด ความสามารถและบุคลิกภาพ
- ปฏิบัติงานตามแผน และรับผิดชอบผลที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
- ประเมินผลปฏิบัติตามแผนการเรียน อาชีพ และชีวิต บอกแนวโน้มของเหตุการณ์
สถานการณ์ และผลที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้าได้
- ปรับปรุงแผนการเรียน อาชีพและชีวิต
- ร่วมตัดสินใจเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน
มาตรฐานที่ 4 ปรับตัวและดำรงได้อย่างมีความสุข
1. เข้าใจและยอมรับผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
- ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
- เคารพความคิดเห็นและปฏิบัติตามกฎกติกาของสังคมด้วยความเต็มใจ
2. มีทักษะการสื่อสารเชิงสร้างสื่อสาร
- สามารถแสดงความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมในเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคลในทุกสถานการณ์
3. มีทักษะในการควบคุมอารมณ์ และแสดงออกได้อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
- มีความมั่นคงทางอารมณ์ และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
4. ปฏิบัติตนให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
- เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
5. สามารถทำงานร่วมกับกลุ่มได้
- รู้และแสดงบทบาทการเป็นผู้นำและเป็นสมาชิกที่ดี






มาตรฐานช่วงชั้นด้านการแนะแนว (ช่วงชั้น ม.4-ม.6)
มาตรฐานที่ 1 รู้จักเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
1. รู้สถานภาพและเข้าใจบทบาทหน้าและความรับผิดชอบของตนเองต่อครอบครัวโรงเรียน ชุมชน และสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีคุณภาพ
- อาสาสมัครในการปฏิบัติหน้าที่
- ผลิตผลงานใหม่
- ยอมรับผลงานผู้อื่น
- มีความสร้างสรรค์
- ผลงานเป็นที่ยอมรับ
2. เข้าใจและยอมรับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นและมีทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
- ให้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา
3. ค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง
- บูรณาการคุณลักษณะของตัวแบบและคุณลักษณะของตนเองให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
4. รู้เข้าใจคุณลักษณะและใช้ศักยภาพของตนเองให้เกิดประโยชน์
- แสดงลักษณะของตนเองและนำมาใช้สอดคล้องกับการศึกษาและอาชีพ
6. รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
- แสดงความชื่นชมในคุณค่าของตนเอง
- นำคุณค่าที่มีพัฒนาตนเองและสังคม
- นำคุณค่าในตนเองและผู้อื่นร่วมกันพัฒนาสังคม

มาตรฐานที่ 2 รู้จักแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ
สามารถแสวงหาข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและทันสมัย มีวิจารณญานในการเลือกรับ และข้อมูลสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม จนเป็นลักษณะนิสัยประจำตน
- รู้จักแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
- สามารถสังเคราะห์ และจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ และนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
- สามารถนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีเหตุผล
มาตรฐานที่ 3 ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
มีทักษะในการกำหนดเป้าหมาย วางแผนการใช้เวลา คาดการณ์ และประเมินสถานการณ์ ผลกระทบ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ประเมินผล ปรับปรุงแผนดำเนินงานและตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล คุณธรรมและจริยธรรม
- มีการทำงาน โดยอาศัยการวางแผนอย่างสม่ำเสมอ
- ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลอย่างเป็นระบบ
- วิเคราะห์ ประเมินผลดี ผลเสียเพื่อใช้ปรับปรุงพัฒนางาน
- มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชนและสังคม
มาตรฐานที่ 4 ปรับตัวและดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
1. เข้าใจและเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล
- เคารพศักดิ์ศรีในความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. มีทักษะการสื่อสารหลากหลายเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
- สามารถแสดงความคิด ความรู้สึก อารมณ์และพฤติกรรมในเชิงสร้างสรรค์ที่ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
3. มีทักษะในการบริหารจัดการอารมณ์ และสร้างบรรยากาศในการดำรงชีวิต
- มีความมั่นคงทางอารมณ์ และการแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
- รู้จักนำพลังแห่งความคิดและความรู้สึก อารมณ์มาใช้ประโยชน์ต่อตนเองให้มากที่สุด
4. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
- เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
- อาสาเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
5. สามารถทำงานร่วมกับกลุ่มได้
-รู้และแสดงบทบาทการเป็นผู้นำและเป็นสมาชิกที่ดี

แนวทางจัดกิจกรรมแนะแนว

การจัดกิจกรรมแนะแนว สถานศึกษาต้องบริหารจัดการให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่และมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามจุดหมายของหลักสูตรและมาตรฐานการแนะแนวด้านผู้เรียน โดยจัดเวลาให้เป็นไปตามสัดส่วนของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น รวมทั้งจัดบริการและกิจกรรมนอกห้องเรียนให้ครอบคลุมทั้ง 5 งาน และมีกิจกรรมอย่างน้อย 9 กิจกรรม ตามแนวการจัดกิจกรรม ดังนี้
การจัดกิจกรรมแนะแนว มีภาระงาน 2 ลักษณะ คือ
1. การจัดบริการแนะแนว
2. การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน
การจัดบริการแนะแนว ครูทุกคน รวมถึงครูแนะแนวด้วย ร่วมรับผิดชอบและมีหน้าที่ในการจัดบริการแนะแนวเป็นที่ปรึกษา และประสานงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ได้มาตรฐานและครอบคลุมบริการแนะแนวทั้ง 5 งาน ตามวิธีการดังนี้



งาน
วิธีการ
1. งานศึกษารวบรวมข้อมูล
- ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์สรุป และนำเสนอข้อมูลของผู้เรียน
2. งานสารสนเทศ
- จัดศูนย์สารสนเทศการแนะแนวในรูปศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองโดยครอบคลุมด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัว และสังคม
3. งานให้คำปรึกษา
- อบรมทักษะการให้คำปรึกษาแก่ครู
- ให้คำปรึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
- ศึกษารายกรณี และจัดประชุมปรึกษาปัญหา
- ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่ผู้เรียนมีปัญหายากต่อการแก้ไข
4.งานกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาช่วยเหลือผู้เรียน
- จัดบริการสร้างประสบการณ์ รวมทั้งให้การสงเคราะห์ เพื่อตอบสนองความถนัด ความต้องการ และความสนใจของผู้เรียน
5. งานติดตามผล
- ติดตาม ดูแลพฤติกรรมและพัฒนาการผู้เรียน
- ติดตามผลผู้เรียน

โดยดำเนินการตามกิจกรรมดังต่อไปนี้อย่างน้อย 9 กิจกรรม
1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลนักเรียน
2. คัดกรองผู้เรียนเพื่อจำแนก
- ความสนใจ ความถนัด ความสามารถ
- กลุ่มปกติและกลุ่มต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
3. ดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเบื้องต้นด้านความสามารถ การปรับตัว และการสงเคราะห์
4. ให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ที่เป็นประโยชน์และจำเป็นในการดำเนินชีวิต
5. ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องภายในสถานศึกษา เพื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน แนวทางการดูแลช่วยเหลือประชุมกลุ่มปรึกษารายกรณีและการส่งต่อผู้เรียน
6. ประสานงานกับผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อการร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
7. จัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อป้องกัน แก้ไข และส่งเสริมผู้เรียนทุกคนรวมทั้งผู้ที่มีความสามารถพิเศษผู้ด้อยโอกาสและคนพิการให้ได้พัฒนาศักยภาพของตนเต็มความสามารถ
8. ร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกัน แก้ไข และพัฒนาผู้เรียน ตัวอย่างเช่น
- แนะแนวกลุ่ม
- จัดหาทุนและอาหารกลางวัน
- จัดให้มีการฝึกงานและหารายได้ระหว่างเรียน
- จัดบริการช่วยเหลือผู้เรียนทั้งในปัจจุบันและจบการศึกษาแล้ว
- จัดบริการด้านสุขภาพ
- จัดหางาน
- จัดศูนย์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนเพื่อการวางแผนชีวิต
9. นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และประชาสัมพันธ์

การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน
ครูทุกคนร่วมรับผิดชอบ และมีหน้าที่ในการจัดกิจกรรมแนะแนว โดยมีครูแนะแนวเป็นที่ปรึกษา และประสานงาน ร่วมกันวางแผนและหาวิธีการที่เหมาะสมมาใช้พัฒนาผู้เรียน เช่น
ในห้องเรียน
นอกห้องเรียน
1. กิจกรรมโฮมรูม
1. กิจกรรมกลุ่มทางจิตวิทยา เช่น โปรแกรมพัฒนาตนเองเกี่ยวกับการรู้จัก และเห็นคุณค่าในตนเอง
2. กิจกรรมคาบแนะแนว
2. การอบรมเชิงปฏิบัติการเช่น โครงการอบรมผู้นำในโรงเรียนสหวิทยาเขต
3.การสอดแทรกกระบวนการแนะแนว
3. การทัศนศึกษาแหล่งวิทยาการ และสถานประกอบการ
4. การเชิญวิทยากรให้ความรู้ เช่น ผู้ปกครอง นักเรียน ศิษย์เก่า
5. การจัดนิทรรศการ
6. การจัดป้ายนิเทศ
7. การปฐมนิเทศ
8. การปัจฉิมนิเทศ
9. การจัดเสียงตามสาย
10. ชุมนุมแนะแนว
11. กิจกรรมผู้ปกครองพบครูของลูกรัก (HOME MEETING)
12. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน (PEER GROUP COUNSELING)

การประเมินผล
ในการประเมินผลการจัดกิจกรรมแนะแนว ครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมแนะแนวและผู้เรียน มีภาระต้องรับผิดชอบ ดังนี้
1. ครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมแนะแนว
1.1 ต้องจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะตามมาตรฐานการแนะแนว
1.2 ต้องรายงานเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3 ต้องติดตามศึกษา และพัฒนาผู้เรียน ในกรณีที่ผู้เรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรม

2. ผู้เรียน
2.1 ต้องเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 34 ชั่วโมง/ปี โดยมีหลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรม
2.2 ต้องปฏิบัติตามกิจกรรมเพิ่มเติมตามที่ครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมมอบหมาย ถ้าไม่เกิดคุณลักษณะตามมาตรฐานการแนะแนว
วิธีการประเมิน
ครูผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมแนะแนว สามารถเลือกใช้วิธีการประเมินผลตามความเหมาะสมให้สอดคล้องกับมาตรฐานการแนะแนวดังต่อไปนี้
1. แฟ้มผลงาน
2. การประเมินสภาพจริง
3. การประเมินตนเอง
4. การประเมินโดยกลุ่ม/เพื่อน
5. การสังเกต
6. การสัมภาษณ์
7. การเขียนรายงาน
8. หลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรม ตัวอย่างการจัดกิจกรรมแนะแนว การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อให้บรรลุมาตรฐานการแนะแนวด้านผู้เรียน สามารถจัดได้หลายลักษณะเช่น
- ตัวอย่างการจัดกิจกรรมแนะแนว ตาม 4 มาตรฐาน
- ตัวอย่างการจัดกิจกรรมแนะแนวในห้องเรียน
- โครงการทัศนศึกษา แด่ผู้ด้อยโอกาส แบบเพื่อนช่วยเพื่อน การประสานงานกับผู้อื่น
อย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงทั้งมาตรฐาน บริการและกิจกรรม

หลักสูตรแนะแนว

จุดหมายของหลักสูตรแนะแนว

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนธารทองพิทยาคม มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความรู้ สามารถอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุข บนพื้นฐานของความเป็นไทย มีความรู้ ความสามารถในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพได้ จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่อไปนี้
1. ผู้เรียนทุกคนเห็นคุณค่าของตนเอง (Self Esteem) มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์
สจริต มีวินัยในตนเองและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนา
ที่ตนนับถือ
2. ผู้เรียนทุกคนเป็นบุคคลใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเรียน รักการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
3. ผู้เรียนทุกคนมีทักษาความรู้อันเป็นสากล ทักการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิทยาการ มีทักษะ และมีความสามารถในการจัดการ การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีการทำงานได้อย่างเหมาะสม
4. ผู้เรียนทุกคนมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ทักษะการคิด การสร้างปัญหาและมีทักษะในการดำเนินชีวิต
5. ผู้เรียนทุกคนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีสุนทรียภาพด้านดนตรี ศิลปะ กีฬา และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
6. ผู้เรียนทุกคนสามารถสร้างอาชีพที่สุจริตได้ตามความถนัดและความสนใจเลือกบริโภคและมีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค
7. ผู้เรียนทุกคนมีความเข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย เกิดความรักชาติ รักท้องถิ่น เป็นพลเมืองดีของสังคม มุ่งทำประโยชน์ สร้างสรรค์ สิ่งที่ดีงานให้แก่สังคม ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
8. ผู้เรียนทุกคนมีจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภาษาไทยและภูมิปัญญาไทย
9. ผู้เรียนทุกคนรู้คุณค่าของการประหยัดและอดออม มีจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ

โครงสร้างของหลักสูตร

เพื่อให้การศึกษาเป็นไปตามหลักการ จุดมุ่งหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนธารทองพิทยาคมได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรของสถานศึกษาดังนี้
1. ระดับช่วงชั้น
โรงเรียนได้กำหนดหลักสูตรออกเป็น 2 ช่วงชั้น ตามระดับพัฒนาการของผู้เรียนต่อจากระดับประถมศึกษา
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
2. สาระการเรียนรู้
โรงเรียนได้จัดกำหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกบวนการเรียนรู้และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียน แบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระดังนี้
1. ภาษาไทย
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์
4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5. สุขศึกษาและพลศึกษา
6. ศิลปะ
7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8. ภาษาต่างประเทศ
9. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
สาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม เป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้ มี 2 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่แรก ประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นสาระการเรียนรู้ที่โรงเรียนต้องใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการคิด และเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและวิกฤตของชาติ
กลุ่มที่สอง ประกอบด้วย สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ เป็นสาระการเรียนรู้ที่เสริมพื้นฐานความเป็นมนุษย์และสร้างศักยภาพในการคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วยกิจกรรม 2 ลักษณะคือ
กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองอย่างครบวงจรตั้งแต่ศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ประเมิน ปฏิบัติตานแผน ปรับปรุงการทำงาน โดยการ
ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น โครงงาน กิจกรรมตามความสนใจ ชุมนุมวิชาการ กิจกรรมรักการอ่าน กิจกรรมสาธารณประโยชน์ ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์
กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้เชิงพหุปัญญา และการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ซึ่งครูทุกครูต้องทำหน้าที่ ครูแนะแนว ให้คำปรึกษาด้านชีวิต การศึกษา และการพัฒนาตนเองสู่โลกอาชีพการมีงานทำ

แนวทางการบริหารจัดการแนะแนว

การบริหาจัดการแนะแนว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน ทุกฝ่ายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งเนื่องจากทุกปัญหาของผู้เรียนล้วนมีสาเหตุและไม่ได้เกิดทันทีทันใด แต่เป็นการสั่งสมประสบการณ์ ทั้งในด้านความคิดความรู้สึก และการกระทำ และหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีปัญหาอาจลุกลามจนยากต่อการแก้ไขในที่สุด ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือและพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร การบริหาจัดการแนะแนวจึงควรบริหาอย่างเป็นระบบ โดยมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1. การเตรียมการและวางแผนการดำเนินงาน มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแนะแนวการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสภาพความต้องการของผู้เรียน สภาพปัญหา นโยบายการจัดการศึกษาแผนพัฒนาการแนะแนว ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549) และสภาพความพร้อมของสถานศึกษา รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการ
2. การปฏิบัติตามแผน เป็นการสร้างความตระหนัก ความเข้าใจกันบุคลากรทุกคน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แล้วดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
3. การกำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงาน มีการติดต่อและประเมินผล เพื่อตรวจสอบและทบทวนการดำเนินการที่ผ่านมา
4. การปรับปรุงและพัฒนา เป็นการนำผลประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการแนะแนวในทุกขั้นตอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีการจัดทำรายงานการดำเนินงานเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาต่อไป

คำอธิบายรายวิชากิจกรรมแนะแนว

เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา สำรวจ และค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาชีพและการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สามารถเลือกตัดและตัดสินใจแนวทางการศึกษาต่อ และอาชีพของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับบุคลิกภาพ ความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตนเอง
ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐและของเอกชน วิเคราะห์บุคลิกภาพ ความถนัด ความสนใจ และความสามารถของตนเอง ตัดสินใจเลือกสาขาวิชาและสถาบันการศึกษาเพื่อการศึกษาต่อของตนเองได้อย่างเหมาะสมตรงตามเป้าหมายในอนาคตของตนเอง วางแผนและจัดแบ่งเวลาของตนเองได้อย่างเหมาะสม มีความเข้าใจและยอมรับตนเอง สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบและกระบวนการ

ศาสตร์และศิลป์ของการแนะแนว

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนในลักษณะองค์รวม คือ ให้ผู้เรียนมีความสมดุลทางด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม ตลอดจนการพัฒนาผู้เรียนได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพนั้น การแนะแนวนับว่ามีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการแนะแนวเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง สามารถเลือกและตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมมีทักษะในการจัดการชีวิต ตลอดจนสามารถปรับตัวและดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นการบริหารหลักสูตรให้บรรลุเป้าหมายจึงจำเป็นต้องใช้กระบวนการทางจิตวิทยาและการแนะแนวเพื่อให้
1. ผู้เรียนรู้จักตนเอง รู้ความถนัด ความสนใจ ตลอดจนความต้องการ เพื่อนำไปสู่การเลือกวิชาเรียน และเลือกอาชีพ
2. ผู้เรียนเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเอง เข้าใจและยอมรับผู้อื่น สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้
3. ครูมีข้อมูลที่จะนำมาใช้จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม สนองความต้องการ ความถนัด ความสนใจ และวิธีการหรือลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
4. บรรยากาศการเรียนการสอนเป็นไปอย่างอบอุ่น ผู้เรียนมีความสุขที่จะเรียนรู้ ครูมีความสุขที่จะอยู่กับผู้เรียน
การดำเนินงานการแนะแนวให้ประสบความสำเร็จ มีใช่รู้จักเพียงว่า “การแนะแนวคืออะไร หลักการสำคัญของการแนะแนวมีอะไรบ้าง และเทคนิคในการแนะแนวเป็นอย่างไร” แต่งานแนะแนวจะประสบความสำเร็จจะต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ นั้นคือการใช้องค์ความรู้ทางจิตวิทยาเพื่อให้เข้าใจถึงมนุษย์ที่มีความแตกต่างกันทั้งวัย อายุ ความถนัด และความสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุของพฤติกรรมของแต่ละคนและใช้ศิลป์ของการแนะแนวได้แก่ เทคนิค และทักษะต่างๆ ที่จะทำให้ความเข้าใจและหาทางช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมเป็นกรณีไป ซึ่งศาสตร์และศิลป์ต้องใช้ควบคู่กันไปเสมอ ศาสตร์และศิลป์ของการแนะแนวซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการบริหารจัดการแนะแนวและจัดการเรียนรู้ คือ การรู้จักและเข้าใจผู้เรียน

การวิเคราะห์ผู้เรียน

การรู้จักเข้าใจผู้เรียนได้ดีนั้น จำเป็นต้องมีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของผู้เรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม โดยใช้เครื่องมือ เทคนิค วิธีการที่หลากหลายและข้อมูลที่ได้ควรจะได้มาจากหลายฝ่ายและหลายสถานการณ์ ควรศึกษาหลายวิธี จนกว่าจะแน่ใจว่าถูกต้องเพียงพอและเชื่อถือได้
การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายกลุ่มและรายบุคคล จึงมีหลักการและเทคนิควิธีดังนี้
ข้อมูลมีความสมบูรณ์และเชื่อถือได้
การที่จะรู้จักผู้เรียนแต่ละคนนั้น จำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ใช้เครื่องมือและเทคนิคการรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงและเชื่อถือได้ ดังนี้
1. ข้อมูลที่เกี่ยวกับทางบ้านและพื้นเพเดิมของผู้เรียน
2. ข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
3. ข้อมูลที่เกี่ยวกับการศึกษา ความสามารถหรือความถนัด
4. ข้อมูลที่เกี่ยวกับสังคม และอารมณ์ของผู้เรียน
5. ข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำงานและประสบการณ์ต่างๆ
6. ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการชีวิตและอนาคต
การรวบรวมข้อมูลของผู้เรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ถูกต้องและนำไปสู่การช่วยเหลือพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ
1. เครื่องในการรวบรวมข้อมูล
2. ทักษะในการรวบรวมข้อมูล
3. บุคลิกภาพของครู
เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล เช่น อัตถชีวประวัติ การสัมภาษณ์ การสังเกต ทำระเบียนสะสม การเยี่ยมบ้าน ระเบียนพฤติการณ์ การทดสอบ สังคมมิติ การศึกษารายกรณี(โรงเรียนธารทองพิทยาคมใช้แบบทดสอบต่างๆ ของศูนย์แนะแนวการศึกษาและอาชีพและแบบทดสอบ SDQ ของกรมสุขภาพจิต)
ทักษะในการรวบรวมข้อมูล การรวบรวมข้อมูลแก่ผู้เรียน ครูควรใช้เทคนิคและวิธีการหลายๆ ชนิด เพื่อความถูกต้องและแม่นยำ ครูต้องให้นักเรียนเปิดเผยข้อมูลจริงด้วยความมั่นใจโดยมีทักษะที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการฟัง ทักษะการพูด

บุคลิกภาพของครู เพื่อทำให้ผู้เรียนยอมรับดังนี้

- การมีใจกว้างและยืดหยุ่น ยอมรับความคิดเห็นของผู้เรียนและยอมรับประสบการณ์ของผู้เรียนได้โดยไม่ตัดสินความผิดถูก
- มองโลกในแง่ดี เห็นคุณค่าและจุดดีในตัวของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นคุณค่าและส่วนดีของตนเอง มีกำลังที่จะพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มความสามารถต่อไป
- มีท่าทีอบอุ่นและเอาใจใส่ การแสดงความอบอุ่นและเอาใจใส่ สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งด้วยการแสดงสีหน้า ท่าทาง คำพูดหรือการสัมผัส เป็นการแสดงความสนใจและให้ความสำคัญของผู้เรียนทุกคน
- การมีวุฒิภาวะและความกลมกลืน ครูที่มีวุฒิภาวะและความกลมกลืนจะสามารถทำงานและแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับความพอใจของผู้เรียน มีความมั่นคงทางอารมณ์และยอมรับจุดอ่อนของตนเอง ไม่ใช้อำนาจของตนเองในการชี้นำผู้เรียน

หลักของการแนะแนวมิติใหม่

หลักการที่ 1
ผู้บริหารและครูทุกคนมีบทบาทในการแนะแนว

หลักการที่ 2
การแนะแนวเน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด

หลักการที่ 3
การแนะแนวที่เน้นความเท่าเทียมกันของโอกาสของการศึกษา

หลักการที่ 4
การพัฒนาระบบการแนะแนวของสถานศึกษา

หลักการที่ 5
พันธกิจระหว่างบ้าน บุคคล และสถานศึกษา

หลักการที่ 6
สร้างเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศ

หลักการที่ 7
การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายของการแนะแนว

ข้อตกลงร่วมกันของทุกคน

ขณะที่ร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ทุกคนจะปฏิบัติดังนี้
1. มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
2. พูดได้ครั้งละ 1 คน
3. ขณะที่เพื่อนแสดงความคิดเห็น ถ้านักเรียนจะแสดงความคิดเห็นในทางตรงกันข้ามต้องให้เพื่อนแสดงความคิดเห็นเสร็จก่อน
4. ไม่ใช้คำพูดดูถูกซึ่งกันและกัน และรู้จักแสดงความรู้สึกชื่นชมกันและกัน
5. ไม่ใช้คำพูดดูถูกตนเอง และรู้จักแสดงความรู้สึกชื่นชมตนเอง
6. ไม่พูดสอดแทรกขณะที่เพื่อนพูดหรือแสดงความคิดเห็นยังไม่เสร็จ
7. ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำตอบของเพื่อน
8. แสดงออกด้วยความจริงใจ

คุณลักษณะที่พึงประสงค์

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกิจกรรมแนะแนว
1. รักและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
2. รู้จักแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ
3. สามารถพัฒนาบุคลิกภาพและปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
4. มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
5. มีค่านิยมที่ดี มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม
6. มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศไทย

มาตรฐานการแนะแนวด้านผู้เรียน

มาตรฐานช่วงชั้นด้านการแนะแนว (ช่วงชั้น ม.1- ม.3)
มาตรฐานที่ 1 รู้จักเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
1. รู้สถานภาพและเข้าใจบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของตนเองต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนเองอย่างเหมาะสม
- ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับผิดชอบ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและผู้อื่น
2. เข้าใจความต้องการปัญหาที่เกิดขึ้นของตนเองและมีวิธีให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ และแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล
- บอกสาเหตุของความต้องการ ปัญหาและวิธีการให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการและแก้ปัญหาของตนเอง
- ตอบสนองความต้องการแก้ปัญหาของตนเองอย่างเป็นขั้นตอน
3. ค้นหาเอกลักษณ์ของตนเองโดยแบบที่ดีและถูกต้อง
- เปรียบเทียบแบบอย่างที่ดีและไม่ดี
- บอกแบบอย่างที่ตนเองชื่นชมและยึดถือ
- วิเคราะห์แบบอย่างที่ดีมีความเหมาะสมกับตนเอง
4. รู้และเข้าใจความสนใจ ความถนัด ความสามารถด้านการเรียน อาชีพ และบุคลิกภาพของตนเองได้อย่างเห็นได้อย่างชัดเจน
- ตรวจสอบความสนใจ ความถนัด ความสามารถ และบุคลิกภาพของตนเอง
- พัฒนาตนเองในสิ่งที่สนใจ ถนัด และสามารถจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง
- ตระหนักรู้จักลักษณะเฉพาะของตนที่สัมพันธ์กับการศึกษางานและอาชีพ
5. เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
- บอกเจตคติที่ดีของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับคำยกย่อง ชมเชย และซาบซึ้งในความดีงามของตนเองและผู้อื่น
มาตรฐานที่ 2 รู้จักแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ
รู้จักแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเฉพาะด้านอย่างหลากหลาย สามารถรวบรวม วิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม
- รู้จักแสวงหาข้อมูลจากบุคคล สถานที่ สื่อและเทศโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นและมีวิธีการหาข้อมูลเฉพาะด้าน
- สามารถวิเคราะห์ข้อมูลซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง
- สามารถเลือกใช้ข้อมูลเป็นแนวทางประกอบการวางแผนการเรียน อาชีพและการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
- สามารถนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
มาตรฐานที่ 3 ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
สามารถกำหนดเป้าหมาย วางแผนการใช้เวลา คาดการณ์ รู้ผลกระทบ ประเมิน ผลในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล คุณธรรม และจริยธรรม
- สามารถวางแผนการเรียน อาชีพและชีวิตให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด ความสามารถและบุคลิกภาพ
- ปฏิบัติงานตามแผน และรับผิดชอบผลที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
- ประเมินผลปฏิบัติตามแผนการเรียน อาชีพ และชีวิต บอกแนวโน้มของเหตุการณ์
สถานการณ์ และผลที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้าได้
- ปรับปรุงแผนการเรียน อาชีพและชีวิต
- ร่วมตัดสินใจเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน
มาตรฐานที่ 4 ปรับตัวและดำรงได้อย่างมีความสุข
1. เข้าใจและยอมรับผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
- ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
- เคารพความคิดเห็นและปฏิบัติตามกฎกติกาของสังคมด้วยความเต็มใจ
2. มีทักษะการสื่อสารเชิงสร้างสื่อสาร
- สามารถแสดงความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมในเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคลในทุกสถานการณ์
3. มีทักษะในการควบคุมอารมณ์ และแสดงออกได้อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
- มีความมั่นคงทางอารมณ์ และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
4. ปฏิบัติตนให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
- เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
5. สามารถทำงานร่วมกับกลุ่มได้
- รู้และแสดงบทบาทการเป็นผู้นำและเป็นสมาชิกที่ดี

มาตรฐานช่วงชั้นด้านการแนะแนว (ช่วงชั้น ม.4-ม.6)
มาตรฐานที่ 1 รู้จักเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
1. รู้สถานภาพและเข้าใจบทบาทหน้าและความรับผิดชอบของตนเองต่อครอบครัวโรงเรียน ชุมชน และสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีคุณภาพ
- อาสาสมัครในการปฏิบัติหน้าที่
- ผลิตผลงานใหม่
- ยอมรับผลงานผู้อื่น
- มีความสร้างสรรค์
- ผลงานเป็นที่ยอมรับ
2. เข้าใจและยอมรับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นและมีทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
- ให้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา
3. ค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง
- บูรณาการคุณลักษณะของตัวแบบและคุณลักษณะของตนเองให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
4. รู้เข้าใจคุณลักษณะและใช้ศักยภาพของตนเองให้เกิดประโยชน์
- แสดงลักษณะของตนเองและนำมาใช้สอดคล้องกับการศึกษาและอาชีพ
6. รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
- แสดงความชื่นชมในคุณค่าของตนเอง
- นำคุณค่าที่มีพัฒนาตนเองและสังคม
- นำคุณค่าในตนเองและผู้อื่นร่วมกันพัฒนาสังคม

มาตรฐานที่ 2 รู้จักแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ
สามารถแสวงหาข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและทันสมัย มีวิจารณญานในการเลือกรับ และข้อมูลสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม จนเป็นลักษณะนิสัยประจำตน
- รู้จักแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
- สามารถสังเคราะห์ และจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ และนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
- สามารถนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีเหตุผล
มาตรฐานที่ 3 ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
มีทักษะในการกำหนดเป้าหมาย วางแผนการใช้เวลา คาดการณ์ และประเมินสถานการณ์ ผลกระทบ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ประเมินผล ปรับปรุงแผนดำเนินงานและตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล คุณธรรมและจริยธรรม
- มีการทำงาน โดยอาศัยการวางแผนอย่างสม่ำเสมอ
- ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลอย่างเป็นระบบ
- วิเคราะห์ ประเมินผลดี ผลเสียเพื่อใช้ปรับปรุงพัฒนางาน
- มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชนและสังคม
มาตรฐานที่ 4 ปรับตัวและดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
1. เข้าใจและเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล
- เคารพศักดิ์ศรีในความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. มีทักษะการสื่อสารหลากหลายเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
- สามารถแสดงความคิด ความรู้สึก อารมณ์และพฤติกรรมในเชิงสร้างสรรค์ที่ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
3. มีทักษะในการบริหารจัดการอารมณ์ และสร้างบรรยากาศในการดำรงชีวิต
- มีความมั่นคงทางอารมณ์ และการแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
- รู้จักนำพลังแห่งความคิดและความรู้สึก อารมณ์มาใช้ประโยชน์ต่อตนเองให้มากที่สุด
4. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
- เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
- อาสาเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
5. สามารถทำงานร่วมกับกลุ่มได้
-รู้และแสดงบทบาทการเป็นผู้นำและเป็นสมาชิกที่ดี

แนวทางจัดกิจกรรมแนะแนว

การจัดกิจกรรมแนะแนว สถานศึกษาต้องบริหารจัดการให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่และมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามจุดหมายของหลักสูตรและมาตรฐานการแนะแนวด้านผู้เรียน โดยจัดเวลาให้เป็นไปตามสัดส่วนของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น รวมทั้งจัดบริการและกิจกรรมนอกห้องเรียนให้ครอบคลุมทั้ง 5 งาน และมีกิจกรรมอย่างน้อย 9 กิจกรรม ตามแนวการจัดกิจกรรม ดังนี้
การจัดกิจกรรมแนะแนว มีภาระงาน 2 ลักษณะ คือ
1. การจัดบริการแนะแนว
2. การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน
การจัดบริการแนะแนว ครูทุกคน รวมถึงครูแนะแนวด้วย ร่วมรับผิดชอบและมีหน้าที่ในการจัดบริการแนะแนวเป็นที่ปรึกษา และประสานงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ได้มาตรฐานและครอบคลุมบริการแนะแนวทั้ง 5 งาน ตามวิธีการดังนี้

งาน
วิธีการ
1. งานศึกษารวบรวมข้อมูล
- ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์สรุป และนำเสนอข้อมูลของผู้เรียน
2. งานสารสนเทศ
- จัดศูนย์สารสนเทศการแนะแนวในรูปศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองโดยครอบคลุมด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัว และสังคม
3. งานให้คำปรึกษา
- อบรมทักษะการให้คำปรึกษาแก่ครู
- ให้คำปรึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
- ศึกษารายกรณี และจัดประชุมปรึกษาปัญหา
- ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่ผู้เรียนมีปัญหายากต่อการแก้ไข
4.งานกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาช่วยเหลือผู้เรียน
- จัดบริการสร้างประสบการณ์ รวมทั้งให้การสงเคราะห์ เพื่อตอบสนองความถนัด ความต้องการ และความสนใจของผู้เรียน
5. งานติดตามผล
- ติดตาม ดูแลพฤติกรรมและพัฒนาการผู้เรียน
- ติดตามผลผู้เรียน

โดยดำเนินการตามกิจกรรมดังต่อไปนี้อย่างน้อย 9 กิจกรรม
1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลนักเรียน
2. คัดกรองผู้เรียนเพื่อจำแนก
- ความสนใจ ความถนัด ความสามารถ
- กลุ่มปกติและกลุ่มต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
3. ดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเบื้องต้นด้านความสามารถ การปรับตัว และการสงเคราะห์
4. ให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ที่เป็นประโยชน์และจำเป็นในการดำเนินชีวิต
5. ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องภายในสถานศึกษา เพื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน แนวทางการดูแลช่วยเหลือประชุมกลุ่มปรึกษารายกรณีและการส่งต่อผู้เรียน
6. ประสานงานกับผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อการร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
7. จัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อป้องกัน แก้ไข และส่งเสริมผู้เรียนทุกคนรวมทั้งผู้ที่มีความสามารถพิเศษผู้ด้อยโอกาสและคนพิการให้ได้พัฒนาศักยภาพของตนเต็มความสามารถ
8. ร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกัน แก้ไข และพัฒนาผู้เรียน ตัวอย่างเช่น
- แนะแนวกลุ่ม
- จัดหาทุนและอาหารกลางวัน
- จัดให้มีการฝึกงานและหารายได้ระหว่างเรียน
- จัดบริการช่วยเหลือผู้เรียนทั้งในปัจจุบันและจบการศึกษาแล้ว
- จัดบริการด้านสุขภาพ
- จัดหางาน
- จัดศูนย์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนเพื่อการวางแผนชีวิต
9. นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และประชาสัมพันธ์

การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน
ครูทุกคนร่วมรับผิดชอบ และมีหน้าที่ในการจัดกิจกรรมแนะแนว โดยมีครูแนะแนวเป็นที่ปรึกษา และประสานงาน ร่วมกันวางแผนและหาวิธีการที่เหมาะสมมาใช้พัฒนาผู้เรียน เช่น
ในห้องเรียน
นอกห้องเรียน
1. กิจกรรมโฮมรูม
1. กิจกรรมกลุ่มทางจิตวิทยา เช่น โปรแกรมพัฒนาตนเองเกี่ยวกับการรู้จัก และเห็นคุณค่าในตนเอง
2. กิจกรรมคาบแนะแนว
2. การอบรมเชิงปฏิบัติการเช่น โครงการอบรมผู้นำในโรงเรียนสหวิทยาเขต
3.การสอดแทรกกระบวนการแนะแนว
3. การทัศนศึกษาแหล่งวิทยาการ และสถานประกอบการ
4. การเชิญวิทยากรให้ความรู้ เช่น ผู้ปกครอง นักเรียน ศิษย์เก่า
5. การจัดนิทรรศการ
6. การจัดป้ายนิเทศ
7. การปฐมนิเทศ
8. การปัจฉิมนิเทศ
9. การจัดเสียงตามสาย
10. ชุมนุมแนะแนว
11. กิจกรรมผู้ปกครองพบครูของลูกรัก (HOME MEETING)
12. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน (PEER GROUP COUNSELING)

การประเมินผล
ในการประเมินผลการจัดกิจกรรมแนะแนว ครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมแนะแนวและผู้เรียน มีภาระต้องรับผิดชอบ ดังนี้
1. ครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมแนะแนว
1.1 ต้องจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะตามมาตรฐานการแนะแนว
1.2 ต้องรายงานเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3 ต้องติดตามศึกษา และพัฒนาผู้เรียน ในกรณีที่ผู้เรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรม

2. ผู้เรียน
2.1 ต้องเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 34 ชั่วโมง/ปี โดยมีหลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรม
2.2 ต้องปฏิบัติตามกิจกรรมเพิ่มเติมตามที่ครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมมอบหมาย ถ้าไม่เกิดคุณลักษณะตามมาตรฐานการแนะแนว
วิธีการประเมิน
ครูผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมแนะแนว สามารถเลือกใช้วิธีการประเมินผลตามความเหมาะสมให้สอดคล้องกับมาตรฐานการแนะแนวดังต่อไปนี้
1. แฟ้มผลงาน
2. การประเมินสภาพจริง
3. การประเมินตนเอง
4. การประเมินโดยกลุ่ม/เพื่อน
5. การสังเกต
6. การสัมภาษณ์
7. การเขียนรายงาน
8. หลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรม ตัวอย่างการจัดกิจกรรมแนะแนว การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อให้บรรลุมาตรฐานการแนะแนวด้านผู้เรียน สามารถจัดได้หลายลักษณะเช่น
- ตัวอย่างการจัดกิจกรรมแนะแนว ตาม 4 มาตรฐาน
- ตัวอย่างการจัดกิจกรรมแนะแนวในห้องเรียน
- โครงการทัศนศึกษา แด่ผู้ด้อยโอกาส แบบเพื่อนช่วยเพื่อน การประสานงานกับผู้อื่น
อย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงทั้งมาตรฐาน บริการและกิจกรรม